วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558



ไลเคน (Lichen)





 ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เกาะอาศัยอยู่บนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆโดยพบทั้งบนวัสดุธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ ใบไม้ ดิน หิน แมลง เป็นต้น และวัสดุก่อสร้าง เช่น ขวดแก้ว แผ่นป้ายโลหะ ฯลฯไลเคนประกอบกันขึ้นด้วย สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า รา (fungi) และสาหร่าย(algae) ซึ่งราในไลเคนเรียกว่า มายคอไบออนท์ (Mycobiont) กับสาหร่าย(algae) โดยเรียกสาหร่ายในไลเคนว่า โฟโตไบออนท์(Photobiont) มีสองกลุ่มคือ สาหร่ายสีเขียว(green algae) และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae)โดยรานั้นมีหน้าที่เก็บความชื้นและป้องกันอันตรายให้สาหร่ายส่วนสาหร่ายทำหน้าที่สร้างอาหารและแบ่งปันให้รา ดังนั้นทั้งราและสาหร่ายต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกัน และกันอย่างลงตัว ทำให้ไลเคนเกิดขึ้นได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของ  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

โครงสร้างของไลเคน
ฟังไจกับสาหร่ายสีเขียวหรือไซยาโนแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกันเป็นไลเคน จะสร้างโครงสร้างที่เรียกว่าทัลลัส (thallus) เมื่อผ่าไลเคนตามขวางเพื่อดูโครงสร้างภายในทัลลัส พบว่าประกอบขึ้นจากไฮฟาของฟังไจกับสาหร่ายสีเขียวหรือไซยาโนแบคทีเรียเรียงตัวกันเป็น 3 ชั้น ดังภาพที่ 3 ซึ่งประกอบด้วย



ประเภทของไลเคน
   ไลเคนแต่ละชนิดเกิดจากราหนึ่งชนิดจับคู่กับสาหร่ายอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น ความหลากหลายของ ชนิดไลเคน ขึ้นอยู่กับชนิดของราเป็นสำคัญ ราที่ก่อให้เกิดไลเคน มีประมาณ 13,500 ชนิด ส่วนสาหร่ายในไลเคนมีประมาณ 100 ชนิด 40 สกุล เท่านั้นผลของการอยู่ร่วมกันของสาหร่ายและราทำให้เกิดโครงสร้างซึ่งมีลักษณะเฉพาะของไลเคน เรียกว่า แทลลัส (Thallus) แบ่งไลเคนออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ครัสโตส (Crustose) มีลักษณะคล้ายฝุ่นผงอัดตัวกันเป็นแผ่นบาง ๆ มีชั้นผิวด้านบนด้านเดียวส่วนด้านล่างแนบสนิทกับวัตถุที่เกาะ



2. โฟลิโอส (Foliose)  มีลักษณะคล้ายแผ่นใบมีชั้นผิว 2ด้าน ด้านบนสัมผัสอากาศด้านล่างมีส่วนที่คล้ายราก แต่เกิดจากเส้นใยของรา เรียกว่าไรซีน(Rhizine) ใช้เกาะกับวัตถุ




3. ฟรูทิโคส (Fruticose) หรือพวกพุ่มกอ มีลักษณะเป็นกิ่งก้านหรือเส้นสาย มีลักษณะคล้ายรากฝอยกับรากแขนงแต่อยู่ในอากาศ



4.สแควมูโลส (squamulose) ลักษณะเป็นเม็ดคล้ายลูกหิน ติดแน่นอยู่กับต้นไม้




 ในสมัยโบราณไลเคนนำมาใช้เป็นยาพื้นบ้าน ใช้ลดไข้ รักษาโรคผิวหนัง แผลติดเชื้อ บรรเทาอาการท้องเสีย นำมาผลิตเป็นน้ำหอม และสกัดสีสำหรับย้อมผ้าและใส่ในเครื่องดื่ม หรือใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเป็นกรด เบสของสารต่างๆ เช่น ลิตมัสสีน้ำเงิน (litmus) ซึ่งสกัดได้จากไลเคนหลายชนิด ปัจจุบันเมื่อมีการศึกษาสมบัติของไลเคนแล้ว พบว่าไลเคนสามารถสร้างสารประกอบประเภทฟีนอลหลายชนิด ซึ่งมีสมบัติดูดซับแสง UVB และมีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสารประกอบทุติยภูมิที่สกัดจากไลเคนหรือฟังไจที่แยกจากไลเคน พบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมากกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งมีสมบัติยับยั้งจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย ฟังไจและไวรัส ยังยั้งเซลล์มะเร็ง และช่วยลดไข้ เป็นต้น
     นอกจากนั้นไลเคนยังถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการวัดคุณภาพของอากาศได้อีกด้วย ซึ่งไลเคนแต่ละชนิดมีความสามารถในการทนทานต่อระดับมลภาวะได้ไม่เท่ากัน ไลเคนที่ใช้วัดคุณภาพอากาศมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่อ่อนไหวมาก เช่น ฟรูติโคส ซึ่งขึ้นเฉพาะบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์และมีความชื้นสูง กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่อ่อนไหว เช่น โฟลิโอส ที่ดำรงชีวิตในบริเวณที่มีอากาศดี และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ทนทานต่ออากาศไม่ดีได้ การสำรวจพื้นที่ศึกษาว่ามีไลเคนกลุ่มใดบ้างและมีจำนวนมากน้อยเพียงใด จะสามารถบอกได้ว่าคุณภาพอากาศในบริเวณนั้นเป็นอย่างไร

ที่มา : http://biology.ipst.ac.th/?p=915